บ่อเกิดแห่งลายกนกไทย
ลายไทยมีบ่อเกิดมาจากธรรมชาติ ได้แก่
ดอกบัว
ดอกมะลิ
ดอกชัยพฤกษ์
ใบฝ้ายเทศ
ผักกูด
ตาอ้อย
เถาวัลย์
กาบไผ่
เปลวไฟ
ลายกนกเปลว
ลายกระหนกเปลว เป็นแม่ลายกระหนกอันดับที่ 2 ในขบวนแม่ลายทั้งสี่ ได้รับความบันดาลใจและประดิษฐ์ขึ้นมาจากยอดสะบัดของเปลวเพลิง จึงเรียกชื่อลายว่า "กระหนกเปลวเพลิง" ตามลักษณะของเปลวเพลิง เพื่อให้กะทัดรัดในการเรียกชื่อ จึงตัดคำว่า เพลิง ออกคงเหลือเพียงชื่อ "กระหนกเปลว"
รูปทรงของลายกนกเปลว
มีรูปทรงและส่วนประกอบตัวลายเหมือนลายกระหนกสามตัว แต่มีข้อแตกต่างกันคือ
- 1. ตัวเหงา เป็นลายที่อยู่ตอนล่างและอยู่ข้างหน้า ตัดจงอยโค้งขมวดก้นหอยออก เขียนลื่นไหลเป็นกาบล่างสำหรับรองรับกาบลายส่วนที่ 2 และ ตัวยอด ส่วนที่ 3
- 2.กาบ หรือ ตัวประกบหลัง เป็นลายส่วนที่ 2 เขียนประกบอยู่หลังตัวเหงา เป็นตัวลายที่จะส่งให้เกิดลายส่วนที่ 3 หรือเรียกตัวยอด รูปทรงโค้งขมวดก้นหอย บากลาย เหมือนกาบของลายกระหนกสามตัว
- 3.ตัวยอด ลักษณะเป็นเปลวอยู่ยอดสุด ตัดจงอยโค้งขมวดก้นหอยออก เขียนลื่นไหลไปหายอด สอดไส้ บากลาย ยอดสะบัด และเพิ่มกาบหุ้มที่โคนเถาลาย
กนกใบเทศ
ลายกนกใบเทศ เป็นแม่ลายกระหนกอันดับที่ 3 ในขบวนแม่ลายกนกทั้งสี่ ประดิษฐ์มาจากใบฝ้ายและเถาไม้ นำมาเขียนผูกเป็นลาย
รูปทรงของกนกใบเทศ
มีรูปทรงและการแบ่งตัวลายเหมือนกระหนกสามตัว การเพิ่มรายละเอียดหรือส่วนประกอบตัวลายใช้ใบเทศ และ ลายแข้งสิงห์ เกาะติดก้าน สอดไส้ บากลาย ปลายยอดใบเทศสะบัดพริ้วเหมือนปลายยอดลายกระหนกสามตัว