วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

  ลายกระหนก หรือ ลายกนก เป็นลายพื้นฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในจิตรกรรมไทย มีพื้นฐานจากสามเหลี่ยมชายธง (สามเหลี่ยมมุมฉาก) อาจมีตัวเดียว หรือหลายตัวก็ได้ มักมีฐานมุมแหลมหันไปทางเดียวกัน โดยมีขนาดและสัดส่วนที่แตกต่างกันไป ลายกนก ที่สำคัญ ได้แก่ กระหนกสามตัว กระหนกเปลว กระหนกใบเทศ จากนั้นก็เป็นกระหนกผักกูด กระหนกกอ เป็นต้น


บ่อเกิดแห่งลายกนกไทย

  ลายไทยมีบ่อเกิดมาจากธรรมชาติ ได้แก่
        ดอกบัว
        ดอกมะลิ
        ดอกชัยพฤกษ์
        ใบฝ้ายเทศ
        ผักกูด
        ตาอ้อย
        เถาวัลย์
        กาบไผ่
        เปลวไฟ

ลายกนกเปลว

 ภาพ:Ka12.jpg
ลายกระหนกเปลว เป็นแม่ลายกระหนกอันดับที่ 2 ในขบวนแม่ลายทั้งสี่ ได้รับความบันดาลใจและประดิษฐ์ขึ้นมาจากยอดสะบัดของเปลวเพลิง จึงเรียกชื่อลายว่า "กระหนกเปลวเพลิง" ตามลักษณะของเปลวเพลิง เพื่อให้กะทัดรัดในการเรียกชื่อ จึงตัดคำว่า เพลิง ออกคงเหลือเพียงชื่อ "กระหนกเปลว"

รูปทรงของลายกนกเปลว


 มีรูปทรงและส่วนประกอบตัวลายเหมือนลายกระหนกสามตัว แต่มีข้อแตกต่างกันคือ
  • 1. ตัวเหงา เป็นลายที่อยู่ตอนล่างและอยู่ข้างหน้า ตัดจงอยโค้งขมวดก้นหอยออก เขียนลื่นไหลเป็นกาบล่างสำหรับรองรับกาบลายส่วนที่ 2 และ ตัวยอด ส่วนที่ 3
  • 2.กาบ หรือ ตัวประกบหลัง เป็นลายส่วนที่ 2 เขียนประกบอยู่หลังตัวเหงา เป็นตัวลายที่จะส่งให้เกิดลายส่วนที่ 3 หรือเรียกตัวยอด รูปทรงโค้งขมวดก้นหอย บากลาย เหมือนกาบของลายกระหนกสามตัว
  • 3.ตัวยอด ลักษณะเป็นเปลวอยู่ยอดสุด ตัดจงอยโค้งขมวดก้นหอยออก เขียนลื่นไหลไปหายอด สอดไส้ บากลาย ยอดสะบัด และเพิ่มกาบหุ้มที่โคนเถาลาย

กนกใบเทศ 


ภาพ:Ka13.jpg
        ลายกนกใบเทศ เป็นแม่ลายกระหนกอันดับที่ 3 ในขบวนแม่ลายกนกทั้งสี่ ประดิษฐ์มาจากใบฝ้ายและเถาไม้ นำมาเขียนผูกเป็นลาย 

รูปทรงของกนกใบเทศ
        มีรูปทรงและการแบ่งตัวลายเหมือนกระหนกสามตัว การเพิ่มรายละเอียดหรือส่วนประกอบตัวลายใช้ใบเทศ และ ลายแข้งสิงห์ เกาะติดก้าน สอดไส้ บากลาย ปลายยอดใบเทศสะบัดพริ้วเหมือนปลายยอดลายกระหนกสามตัว